Vishvakarman - พระวิษณุกรรม เทพเจ้าผู้สร้างสรรค์สรรพสิ่ง
top of page

Vishvakarman - พระวิษณุกรรม เทพเจ้าผู้สร้างสรรค์สรรพสิ่ง



พระวิษณุกรรม หรือ พระวิศวกรรม นั้นถือเป็นเทพ "ชั้นผู้ใหญ่" ที่สถิตย์อยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงษ์ เป็นองค์บริวารของพระอินทร์อีกทีหนึ่ง มีชื่ออยู่หลากหลายตามประสาของเทพ ทั้งพระวิษณุกรรม พระวิศวกรรมา พระวิสสุกรรม วิศวกรรมัน พระเวสสุกรรม หรือ พระเพชฉลูกรรม ซึ่งชื่อทั้งหมดที่ว่ามานั้นสามารถแปลความหมายได้ว่า "ผู้ทำทุกสิ่งทุกอย่าง"​ .​ ตำนานเทพเจ้าของฮินดูกล่าวว่า พระวิศวกรรมมีสามตา กายสีขาว ทรงอาภรณ์สีเขียว ในการสร้างรูปเคารพมักจะไม่เหมือนกัน บ้างก็สร้างให้พระองค์ถือคทา จอบ ไม้วา ไม้ฉาก ผึ่ง (เครื่องมือสําหรับถากไม้ รูปร่างคล้ายจอบ แต่มีขนาดเล็กกว่าและด้ามสั้นกว่า) และลูกดิ่ง เป็นต้น ​ .​ ตามตำนานพุทธศาสนาเล่าว่า ท่านเป็นผู้สร้างอาศรมให้แก่พระโพธิสัตว์หลายพระองค์ (ก่อนที่จะอุบัติเป็นพระพุทธเจ้า) เป็นผู้สร้างบันไดเงิน บันไดทอง บันไดแก้ว ทอดจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ที่เมืองสังกัสสนคร ซึ่งเป็นเส้นทางที่พระพุทธเจ้าใช้เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (หลังจากเสด็จขึ้นไปโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ในช่วงเข้าพรรษา) นอกจากจะเป็นสถาปนิกและเป็นวิศวกรด้านโยธาและสำรวจ ดังจะเห็นได้จากผลงาน ๒ ประการที่ว่านี้แล้ว พระวิศวกรรม ยังเป็นวิศวกรเครื่องกลอีกด้วย กล่าวคือ ท่านเป็นผู้สร้างวาฬสังฆาตยนต์ ซึ่งเป็นกงล้อหมุนรอบองค์พระสถูป ปกปักรักษาป้องกันมิให้บุคคลเข้าใกล้พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งที่พระเจ้าอชาตศัตรูได้รับส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุหลังพุทธปรินิพพานและอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในองค์พระสถูปที่ว่านี้​ .​ ยังมีอีกตำนานหนึ่งเล่าขานว่า ธิดานางหนึ่งของท่าน ซึ่งเป็นชายาของพระอาทิตย์ บ่นให้พระวิศวกรรม ผู้เป็นพ่อฟังว่า พระอาทิตย์สามีของตนนั้นช่าง "ร้อนแรง" เหลือเกิน เข้าใกล้ไม่ค่อยได้ ได้ยินเช่นนั้นพระวิศวกรรมจึงช่วยเหลือโดยการขูดผิวพระอาทิตย์ออกเสียบางส่วน ทำให้ความร้อนแรงนั้นทุเลาลงไปบ้าง และผิวพระอาทิตย์อันมีรัศมีเจิดจ้าที่ขูดออกมาได้นั้น พระวิศวกรรมได้นำไปรังสรรค์-ปั้น-แต่ง แล้วถวายให้เป็นอาวุธทรงอานุภาพและมีประกายแวววาวแก่เทพองค์สำคัญของสวรรค์ชั้นฟ้า ได้แก่ อาวุธ "ตรีศูล" (สามง่าม) ของพระอิศวร "จักราวุธ" (กงจักร) ของพระนารายณ์ "วชิราวุธ" (สายฟ้า) ของพระอินทร์ "คทาวุธ" (กระบอง) ของท้าวกุเวร และ "โตมราวุธ" (หอก) ของพระขันทกุมาร เป็นต้น​ .​ ชาวไทยเองก็ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรม และการสืบทอดประเพณีบางอย่างมาจากอินเดีย ซึ่งนับถือว่าพระวิศวกรรมเป็นเทพแห่งช่าง เป็นผู้สรรค์สร้าง หรือเป็นผู้ดลบันดาลให้เกิดการสรรค์สร้างประดิษฐกรรมต่าง ๆ ในโลก เราจึงบัญญัติศัพท์ภาษาต่างประเทศ "ENGINEERING" ซึ่งเป็นศาสตร์แห่งช่าง ใช้ในภาษาไทยว่า "วิศวกรรมศาสตร์" หมายถึง "ศาสตร์ที่มีพระวิศวกรรม (เทวดาแห่งช่าง) เป็นครู"​ .​ ตามความเชื่อของคนไทยนั้น ให้ความเคารพและศรัทธาองค์พระวิศวกรรม หรือ พระวิษณุกรรม เป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากความเชื่อและศรัทธาที่แฝงไว้ในชื่อของเมืองหลวงที่ว่า “กรุงเทพมหานคร อมรรัตรโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” ​ .​ ซึ่งแปลความหมายได้ว่า พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นนครที่ไม่มีใครรบชนะได้ มีความงามอันมั่นคงและเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการ น่ารื่นรมย์ยิ่ง มีพระราชนิเวศใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา ซึ่งพระนครแห่งนี้ ท้าวสักกเทวราช (พระอินทร์ หรือ ท้าวอมรินทร์เทวาธิราช) พระราชทานให้ พระวิษณุกรรม ลงมาเนรมิตไว้ โดยสรุปคือ กรุงเทพมหานครฯ คือเมืองที่ พระวิษณุกรรม สร้างตามพระบัญชาของ พระอินทร์ นั่นเอง​ .​ สามารถเข้าชมเฟอร์นิเจอร์สไตล์ Antique ได้ที่โชว์รูม AGAL Crystal Design Center (CDC) อาคาร B ชั้น 1​ หรือสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง​ Inbox: http://m.me/agaldecor​ Line Official: https://lin.ee/k1w5t7y​ Website: https://www.agal.co.th/​ เบอร์โทรติดต่อ: 086-340-9321, 083-260-4141​ #StepintoYourComfortzone #Agaldecor#Vishvakarman #พระวิศวกรรม #พระวิษณุกรรม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

bottom of page